เราจะสู้ไปด้วยกัน EP.35 ลดอคติ ลดตีตรา พาไทยปลอดโควิด-19

10 พฤษภาคม 2020 61 ครั้ง

เราจะสู้ไปด้วยกัน EP.35 ลดอคติ ลดตีตรา พาไทยปลอดโควิด-19

เชื้อโควิดที่น่ากังวล ยังไม่เท่าจิตใจคนที่ตั้งแง่รังเกียจและหวาดระแวงกับโรคจนไม่สนข้อเท็จจริง พาตัวเองออกจากความรังเกียจและความกลัวด้วย 3 ข้อปฏิบัติที่ควรมี

ตอนนี้ยอดผู้ป่วยโควิดในเมืองไทยนับว่าดีขึ้นมาก ๆ จนคลายกังวลกันไปได้ แต่ในสังคมบางส่วนก็ยังมีอคติหรือความไม่เข้าใจในตัวโรคอยู่ จนนำไปสู่การแสดงการรังเกียจออกมา ศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกว่า Stigma แปลเป็นไทยคือ "การตีตรา” ซึ่งก็คือการรังเกียจผู้ติดเชื้อ ซึ่งอาการรังเกียจเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งต่อตัวผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิด และในชุมชน เป็นต้นเหตุทำให้สังคมแตกแยก นำไปสู่ความหวาดระแวง และวุ่นวายขึ้นได้ 

 

Stigma แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

 

1. Self Stigma  อาการรังเกียจที่ผู้ป่วยสร้างขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นการปกปิดอาการ ไม่อยากไปรักษา โทษตัวเอง เก็บตัว ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ 

 

2. Public Stigma คือการที่สังคมไปตีตรา รังเกียจคนป่วย อาจจะแสดงออกมาโดยการพูดจาต่อว่า เหยียดหยาม เพิกเฉย ไม่สนใจ ไม่ให้ความช่วยเหลือ เหมือนกรณีผีน้อยที่มาจากเกาหลีใต้ หรือการที่คนในหมู่บ้านขับไล่คนที่เคยติดเชื้อ ไม่ให้มาพักฟื้นที่บ้านตัวเอง เป็นต้น

 

3. Institutional Stigma ในระดับองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น การทำให้เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการรับบริการ เกิดการแบ่งแยก ได้รับบริการที่ด้อยกว่าเดิม ในระดับนี้ยังไม่เจอในช่วงโควิด-19 แต่คนที่เป็นเอดส์ในสมัยก่อนยังมีอยู่ 

 

ในสถานการณ์แบบนี้ นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ฝาก 3 คำง่าย ๆ ในการที่จะพาเราออกไปจากความรังเกียจและความกลัว คือ ต้องมีความรับผิดชอบในบทบาทของตนเอง ต้องมีความรอบรู้ สุดท้ายต้องสู้ไปด้วยกัน ลดการรังเกียจ การตีตรา จะพาสังคมไทย ปลอดภัยจากโควิด-19 ได้ค่ะ 

 

 

#เราจะสู้ไปด้วยกัน

 

ข้อมูล : กรมสุขภาพจิต

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย

นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER