Mom Gen 2 EP.43 เมื่อแม่กับยายความคิดเห็นไม่ตรงกัน

14 ธันวาคม 2020 85 ครั้ง

Mom Gen 2 EP.43 เมื่อแม่กับยายความคิดเห็นไม่ตรงกัน

เมื่อการเลี้ยงลูกหลานมีปู่ย่าตายายมาช่วยเลี้ยงดู หลายครั้งที่วิธีการเลี้ยงก็ขัดแย้งกับแนวทางของพ่อแม่ จะทำอย่างไรเพื่อลดความขัดแย้งในจุดนี้ได้ ติดตามได้ใน Mom Gen 2 EP.43 เมื่อแม่กับยายความคิดเห็นไม่ตรงกัน

บ่อยครั้งที่ผู้ช่วยเลี้ยงดูลูกหลาน คือ ปู่ย่าตายาย หรือก็คือพ่อแม่ของเราเอง แน่นอนว่าวิธีการเลี้ยงอาจแตกต่างกัน ความคิดเห็นไม่ตรงกัน อาจเพราะยุคสมัย และการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาระหว่างเรากับพ่อแม่ของเราได้

 

ถ้าหลานยังเล็ก ปัญหาความขัดแย้งในการเลี้ยงดูอาจจะอีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อหลานโตรับรู้เรื่องได้มากขึ้นจนกระทั่งเป็นวัยรุ่นแล้ว ถ้ายังเกิดความขัดแย้งในการเลี้ยงดูอาจทำให้เด็กสับสนในกฎกติกาของบ้าน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับลูกหลานอย่างแน่นอน ดังนั้น เราจะมาหาจุดตรงกลางเพื่อลดความขัดแย้งนี้กัน

 

การสื่อสาร คือ การลดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว

 

ปัญหา : ย่ายายใจดีกับหลานมาก แต่พ่อแม่รู้สึกว่าเสียการควบคุม

 

วิธีแก้ :  เราควรฟังคำแนะนำของพ่อแม่ เปิดใจรับฟัง แน่นอนว่าอาจมีเรื่องไม่เห็นด้วย แต่สำคัญคือ การแสดงท่าที ที่ถ้าฟังแล้วแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย กับฟังแล้วแม้จะไม่เห็นด้วยแต่ก็รับฟัง ผลที่ได้ต่างกัน เวลาพ่อแม่พูดอะไร ถึงแม้จะคิดไม่ตรงกับความคิดเรา เราควรแสดงท่าทีรับฟังท่าน เพื่อลดการปะทะ อันไหนพอปรับได้ปรับ (ต้องรู้จักเปิดใจรับฟังด้วย) ท่าทีความยืดหยุ่นสำคัญมาก จุดที่เหมือนกันอยู่อย่าง คือ ย่ายายรักหลาน เราก็รักลูกของเรา แม้ความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่เป้าหมายตรงกัน เราต้องลดทิฐิอะไรบางอย่าง แล้วเราก็คงไม่อยากให้ลูกสับสนกับกฎระเบียบบางอย่าง

 

 

วิธีคุยกับพ่อแม่ของเรา

 

เราต้องหนักแน่น ทำหน้าที่ของการประสานทุกคนในครอบครัว พูดคุยกัน คุยกับแม่ของเรา หาจังหวะดี ๆ ในการคุยกัน เพราะถ้าเราปล่อยให้ความคิดเห็นในเรื่องการเลี้ยงลูกไม่ตรงกันจะทำให้เด็กสับสนได้ ฉะนั้นการหาทางออกด้วยกัน โดยไม่ทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านเสียน้ำใจ ไม่ทำให้ลูกหลานสับสน เป็นหน้าที่ของคนเจเนเรชันที่ 2 แบบคุณที่อยู่ตรงกลาง ทำให้ทัศนคติตรงกัน การเปิดใจจึงจำเป็นมาก

 

 

เทคนิคให้พ่อแม่รับฟัง

 

การขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่ ถ้าท่านไม่ฟัง เราอาจจะยกตัวอย่างขึ้นมา เช่น คุณหมอบอกให้ทำแบบนี้ (การอ้างอิงบุคคลที่ 3) บางครั้งแบบนี้ก็ได้ผลดี แต่ไม่ควรจะบ่อยเกินไป ให้ดูเหตุและผล

 

ต่อไปคือ การตกลงกับลูก บางเรื่องเมื่ออยู่กับปู่ย่าตายาย พ่อแม่อาจยอมได้บ้างนิดหน่อย เช่น ถ้าอยู่กับพ่อแม่ กินลูกอมได้เพียง 1 ชิ้น แต่วันไหนอยู่กับปู่ย่าตายาย อาจเพิ่มเป็น 2 ชิ้นได้ เป็นต้น ยืดหยุ่นบ้างเมื่ออยู่กับปู่ย่าตายาย แค่เพียงนิดหน่อย ให้ทุกคนพยายามปรับ

 

เราต้องยอมรับในบทบาทและพลังความรักของปู่ย่าตายาย ซึ่งท่านจะส่งต่อเรื่องอารมณ์และพลังงานความรักให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะช่วง 3 ขวบปีแรก ในครอบครัวที่พ่อแม่ทำงานนอกบ้าน และมีปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยง ท่านจะส่งความรักให้กับหลานอย่างเต็มที่

 

เราต้องพยายามใช้ความรักในการพูดคุย รวมไปถึงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ใช้ท่าทีที่อ่อนน้อม บางเรื่องใช้วิธีการปรึกษากัน หลายเรื่องในยุคสมัยหนึ่งก็อาจจะดีกว่า โชคดีด้วยซ้ำที่ลูกหลานเราได้เรียนรู้จากปู่ย่าตายายด้วย อย่าลืมว่าการสื่อสารที่ดีต้องมาพร้อมกับท่าทีและความรักจะแก้ปัญหาในครอบครัวของเราได้

 

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER