พลิกแฟ้มคดีปวดใจ EP.18 อยากรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรม

11 ธันวาคม 2020 74 ครั้ง

พลิกแฟ้มคดีปวดใจ EP.18 อยากรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรม

Q : แต่งงานกับสามีมา 12 ปี ยังไม่มีลูก อยากจะรับเด็กมาเลี้ยงต้องทำอย่างไร

 

A : เรื่องการรับบุตรบุญธรรม เราสามารถรับมาเลี้ยงได้โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ที่จะเป็นพ่อแม่บุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี แล้วต้องมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมไม่น้อยกว่า 15 ปี แล้วถ้าเกิดผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ก็คืออายุไม่ถึง 20 ปี จะต้องได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ที่แท้จริงก่อน จึงจะจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมได้

 

พ่อแม่บุญธรรมจะจดเป็นพ่อบุญธรรมคนเดียว หรือจะจดเป็นแม่บุญธรรมคนเดียว หรือทั้งพ่อและแม่จะจดเป็นทั้งคู่ก็ได้

 

ในกรณีที่จะจดรับเป็นคนเดียว ต้องให้อีกคนหนึ่งยินยอมด้วย คือ ถ้าสามีเป็นผู้รับ ภรรยาก็ต้องให้ความยินยอม ในทางกลับกันหากภรรยาเป็นผู้รับ ก็ต้องให้สามียินยอมด้วย เพราะจะเกี่ยวข้องกับเรื่องในอนาคต สิทธิหน้าที่อะไรต่าง ๆ ด้วย

 

เมื่อก่อนนี้การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม  ฝ่ายพ่อแม่ของเด็กจะไปให้ความยินยอม และทางฝ่ายผู้รับก็ทำพิธีการต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะสามารถจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้

 

แต่ปัจจุบันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จะมีคณะกรรมการเข้ามาดูแล โดยเขาจะให้มีการไปทดลองเลี้ยงดูก่อน

 

แล้วก็จะมีการตรวจสอบพ่อแม่บุญธรรมว่า ฐานะการเงินเพียงพอไหม และความสามารถในการที่จะดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับลูกบุญธรรมได้หรือไม่  มีความรักเด็กจริงหรือเปล่า เขาก็จะให้ไปทดลองอยู่ด้วยกัน แล้วคณะกรรมการก็จะมีการออกไปคอยดู และอาจจะมีการสืบเสาะถึงฐานะภูมิหลังของผู้จะรับบุตรบุตรธรรม เมื่อพบว่ามีความรักเด็กจริง ดูแลเด็กได้ ถึงจะมีการอนุมัติจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม

 

ที่นี้ในกรณีที่ถามมา อาจมีการรู้จักผู้ที่เขามีลูก และยินดีที่จะยกให้เป็นบุตรบุญธรรม แต่ถ้าสมมติว่าไม่รู้จักผู้ที่ยินดีที่จะยกลูกให้มาเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งก็จะมีสถานสงเคราะห์ที่จะสามารถไปรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรมก็ได้

 

โดยจะผ่านพิธีการคือ อันดับแรก ผู้ที่จะให้การยินยอมก็คือ ผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์แห่งนั้น และอันดับสองจะต้องผ่านคณะกรรมการที่กล่าวมาข้างต้นให้มีการไปทดลองเลี้ยงดู ถ้าเห็นว่ามีฐานะที่ดูแลได้ มีความรักเด็กจริงถึงจะมีการอนุมัติจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม

 

เมื่อถามว่าในกรณีเด็ก ๆ ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์สิทธิของแม่พ่อเดิมยังมีอยู่หรือไม่

 

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากกรณีไข่แล้วทิ้ง คือ มีการขาดหายกันไปเลย ซึ่งไม่รู้ว่าพ่อแม่ที่แท้จริงคือใคร ตัวอย่างเช่น ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล แล้วก็หนีไปเลย ทิ้งเด็กเอาไว้ การทอดทิ้งเด็กของผู้เป็นแม่นั้นจะมีความผิดตามกฎหมายอาญารวมถึงอัตราโทษจำคุกด้วย

 

ส่วนในกรณีที่รับเด็กมาเลี้ยงแล้ว ตอนหลังปรากฏว่า พ่อแม่บุญธรรมมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดีนั้น  ซึ่งเด็กเองก็สามารถใช้สิทธิของตัวเองโดยการเรียกร้องได้ วิธีการคือ การกลับไปที่สถานสงเคราะห์แล้วรายงานพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้ทางสถานสงเคราะห์ทราบ แล้วเขาก็จะมีการดำเนินการเพื่อที่จะขอยกเลิกการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ เมื่อปรากฏว่าพ่อแม่บุญธรรมมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับลูกบุญธรรม

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  อ.ชัยยง อัชฌานนท์ อดีตกรรมการสภาทนายความ และ คุณนฤมล พุกยม 

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ถอดเทปเสียง: เจษฎา สดครั่ง

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER