ปลดล็อกกับหมอเวช EP.42 ระเบิดจากข้างใน เทคนิคสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

12 ธันวาคม 2020 200 ครั้ง

ปลดล็อกกับหมอเวช EP.42 ระเบิดจากข้างใน เทคนิคสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

สร้างการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ยั่งยืน ด้วยหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” จะมีขั้นตอน แนวทาง และวิธีการอย่างไร ติดตามได้ใน ปลดล็อกกับหมอเวช EP.42 ระเบิดจากข้างใน เทคนิคสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

 

“ระเบิดจากข้างใน” เทคนิคสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

 

1. ต้องรู้จักตัวเองให้ดี

 

วิธีการรู้จักตัวเองมีหลากหลายวิธี คือ

 

- สังเกตตัวเองอยู่เรื่อย ๆ คือ สังเกตความรู้สึกอารมณ์ของตัวเองที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ สังเกตความคิด แล้วค้นหาดูว่า ในแต่ละขณะที่เราทำสิ่งต่าง ๆ เรากำลังต้องการอะไร แล้วมีแรงจูงใจอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนในใจเรา อันนี้ คือ การสังเกตเพื่อรู้จักและเข้าใจตัวเอง

 

- ฝึกรับฟังข้อคิดของคนอื่นที่มีต่อเรา โดยเฉพาะคนที่เป็นกัลยาณมิตร คนที่ปรารถนาดีกับเรา

 

- ทำแบบทดสอบหรือฝึกใช้เครื่องมือ เช่น แบบประเมินบุคลิกภาพ แบบประเมินโรคซึมเศร้า

 

 

2. มีจุดหมายชัด

 

การที่เราจะระเบิดจากข้างใน การที่เราจะสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เคยสังเกตไหมว่า อะไรช่วยให้เรารู้สึกเข้มแข็ง ช่วงไหนที่เรารู้สึกฮึกเหิม ช่วงไหนที่เรารู้สึกมีพลังที่จะขยับการเปลี่ยนแปลงจากตัวเราแทนที่จะรอคอยจากคนอื่น หรือว่าปัจจัยรอบตัว

 

3 ปัจจัยง่าย ๆ คือ รู้จักตัวเอง รู้อารมณ์ และรู้ความต้องการ จะก่อให้เกิดจุดหมายที่ชัดขึ้นมา

 

การมีจุดหมายต้องเชื่อมโยงกับความรู้สึกเชื่อมั่นว่าเราต้องทำได้ ความเชื่อมั่นเกิดจากการที่เราเลือกจุดหมายที่เหมาะกับตัวเรา แล้วก็มีประสบการณ์ความสำเร็จที่เหมาะกับตัวเรามาก่อนหน้านั้น

 

จากนั้นเราจะระเบิดได้ดีก็ต่อเมื่อ เรารู้จุดโฟกัส รู้ว่าอะไรสำคัญ และเน้นตรงนั้น อะไรไม่สำคัญเราสามารถปล่อยได้ อย่าไปเสียพลังงานกับมันจนเกินไป

 

โดยสรุปคือ เป็นการระเบิดข้างในจากการมีความเข้มแข็งเพราะมีจุดหมายชัดที่เกิดจากความเข้าใจตัวเอง

 

 

3. เริ่มต้นทำอะไรด้วยก้าวเล็ก ๆ แก้ปัญหาเล็ก ๆ ในเรื่องที่สำคัญและจำเป็นก่อน

 

เพราะการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่หรือซับซ้อน ต้องเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ สำหรับบุคคล การเปลี่ยนแปลงจุดเล็ก ๆ ต้องเริ่มต้นจากการเรียนรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการ ก้าวแรกที่เหมาะจะเอื้อต่อการที่เราจะเดินต่อนั้นคืออะไร ต้องฝึกคิดและทำอย่างเป็นขั้นตอน โดยเน้นวิธีที่เรียบง่าย ไม่หวังพึ่งคนอื่นมากเกิน

 

เราต้องเลือกก้าวแรก ๆ โดยการออกแบบด้วยความเข้าใจตัวเอง เพราะถ้าเลือกก้าวที่ไม่เหมาะกับตัวเรา โอกาสสำเร็จก็จะน้อยลง ดังนั้นคำว่า ก้าวเล็ก ๆ หรือแก้ปัญหาที่จุดเล็ก ไม่ได้หมายถึงเรื่องอะไรก็ได้ แต่หมายถึง เราต้องเลือกก้าวนั้นด้วยความเข้าใจ

 

 

4. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับสิ่งรอบตัว

 

คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจะอยู่กับเขาได้อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนแต่ละคน เราจะเลือกให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแค่ไหน การจัดเวลาอยู่กับธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญ การเรียนรู้คนรอบตัว และรู้จักเลือกคบคน การแยกแยะระดับชั้นของความสัมพันธ์ กับบางคนอย่าไปเสียพลังงานมาก กับบางคนต้องใส่ใจให้มาก ตรงนี้คือความเข้าใจในเรื่องของตัวเราและความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับสิ่งรอบตัว

 

 

5. ทำอะไรให้ทำอย่างมีความสุข

 

มีความเพียร เน้นการพึ่งตนเอง และความพอเพียง

 

 

 

สรุป คือ ถ้าเรารู้จักตัวเองว่าเราเป็นอย่างไร ถ้าเราสร้างจุดหมายที่ชัดเจน และมีความเชื่อมั่น และปล่อยเรื่องไม่สำคัญเป็น ถ้าเราเลือกก้าวแรกได้เป็นอย่างถูกต้อง ถ้าเรารู้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับคนรอบตัว และสามารถเชื่อมโยงตัวเองกับธรรมชาติได้ดี เราก็จะสามารถออกแบบสิ่งที่เราทำเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยทำมันอย่างมีความสุข

 

 

 

อ้างอิงจากบทความเรื่อง “หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดย คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3m2fnpw

 

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  นพ.ประเวช  ตันติพิวัฒนสกุล

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

OTHER