Mom Gen 2 EP.22 รู้จักตัวเอง ทักษะที่หายไปของเด็กไทย

20 กรกฎาคม 2020 112 ครั้ง

Mom Gen 2 EP.22 รู้จักตัวเอง ทักษะที่หายไปของเด็กไทย

เด็กหลายคนประสบปัญหา "ค้นหาตัวเองไม่เจอ" ไม่รู้ว่าชอบอะไร ถนัดอะไร อยากทำอะไร หรือมีจุดอ่อน จุดแข็งในตัวเองอย่างไร ส่งผลให้หาเป้าหมายในชีวิตไม่เจอ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? แล้วพ่อแม่สามารถปลูกฝัง "ทักษะการรู้จักตัวเอง" ให้ลูกได้อย่างไรบ้าง มาติดตามฟังกันค่ะ

เราเคยตั้งคำถามไหมว่า ทำไมเด็กบ้านเราค้นหาตัวเองไม่เจอ! เกิดอะไรขึ้น 


นั่นเป็นเพราะเด็กขาดโอกาสเรียนรู้จากตัวเอง บางคนก็เรียนตามที่พ่อแม่บอก พอต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเองจึงเกิดสภาวะไม่รักงาน ไม่รักสิ่งที่เรียน ทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียน 
 

 

ทำไมต้องรู้จักตัวเอง 


“การรู้จักตัวเอง” หลายคนบอกว่า ทำไมจะไม่รู้จักตัวเอง จึงมองข้ามไม่พยายามค้นหา ซึ่งความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ ถ้ารู้จักตัวเองเร็วก็จะนำตัวเองไปสู่เป้าหมายในชีวิต ความถนัด ความชอบ นำตัวเองไปสู่การเรียนรู้ที่ตัวเองชอบ ฉะนั้นต้องพยายามรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง เช่น ถ้ารู้ว่าจุดอ่อนของตัวเองเป็นอย่างไร เราก็หาทางแก้ไข เช่น รู้ว่าตัวเองใจร้อน เราก็รู้ว่าต้องจัดการกับอารมณ์อย่างไร 
 

ทักษะการรู้จักตัวเองต้องผ่านกระบวนการบ่มเพาะเป็นทักษะสำคัญ เพราะจะทำให้เรามีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไป สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมหวังให้ลูกมีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต ฉะนั้นเรามาปลูกฝัง ทักษะรู้จักตัวเองให้ลูกเรากันค่ะ 

1. ให้โอกาส พ่อแม่ต้องคอยสังเกต และสนับสนุนในสิ่งที่ลูกชอบ ฟังว่าลูกชอบอะไร คิดอะไร อยากทำอะไร ทำอะไรได้ดี 


2. ให้อิสระกับลูก ทั้งในเรื่องการคิด การลงมือทำสิ่งที่ลูกอยากทำ ให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่าใช้คำว่า “ไม่” กับลูกมากเกินไป อย่าไปบงการ หรือฝากความหวังในชีวิตลูกมากเกินไป ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง พ่อแม่มีหน้าที่ชี้แนะและสนับสนุน 


3. ให้ลูกเห็นตัวเองในมุมต่าง ๆ ทั้งจุดอ่อนจุดแข็ง จุดดีจุดด้อย สะท้อนให้ลูกเห็นตัวเอง ปรับความเข้าใจการมองตัวเอง พ่อแม่ต้องมองลูกด้วยสายตาแห่งความเป็นจริง อะไรที่เป็นข้อบกพร่องต้องสะท้อนให้ลูกเห็น การสอนและเตือนสติเป็นสิ่งจำเป็น 


4. ให้ความเคารพ ยอมรับและเข้าใจในตัวลูก สร้างทัศนคติและเคารพในความคิดของลูก 


5. ให้ประสบการณ์ อย่าขี้เกียจตอบสิ่งที่ลูกถาม ขยันถามกลับด้วยคำถามปลายเปิด เพื่อนให้ลูกได้คิดต่อ บางคำถามอาจมีหลายคำตอบ ก็ไม่เป็นไร ขอให้ลูกได้ค้นหาคำตอบ 
 

6. ให้พัฒนาตัวเอง ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม 


7. ให้ลงมือทำ ลูกต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ได้ลองค้นหา ให้โอกาสคิดวิเคราะห์ และประเมินตัวเอง 


8. ให้แก้ไขเมื่อผิดพลาด เป็นธรรมดาที่ทำอะไรต้องมีความผิดพลาด เราต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้แก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆ ด้วยตัวเอง 

พ่อแม่ต้องพยายามเข้าใจพื้นฐานของลูกด้วยว่าเป็นเด็กอย่างไร พ่อแม่ก็จะจัดการการส่งเสริมลูกได้ดียิ่งขึ้น การเลี้ยงลูกให้คิดเป็น อ่านตัวเองได้ สามารถดึงเอาศักยภาพของตัวเองออกมา ลูกจะมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่าการท่องจำอย่างมากมาย และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของลูก

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการ:  ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

บรรณาธิการ:  นันทิญา จิตตโสภาวดี

กองบรรณาธิการ: นมิดา แพ่งสภา, ปัณณธร ใสแสง, รุจา สุขพัฒน์, นีรชา คัมภิรานนท์, สุสมา สุขพัฒน์

ศิลปกรรม:  ฐานิสร์  ริ้วสุวรรณ, เอกชัย เธียรสรรชัย
นักออกแบบเสียง:  ธัญธนวรัท  ชนกชัด

ฝ่ายผลิต: ชลธิศ กรดี

ที่ปรึกษา:  วันชัย  บุญประชา, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

OTHER